วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้

ในพื้นที่กึ่งปิด เช่น  สถานีขนส่งหมอชิต  สถานีรถไฟหัวลำโพง  และสวนรมณีนาถ ลักษณะเป็นสถานที่ราชการเปิดให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการเป็นช่วงเวลา  มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่โดยตรง   ลักษณะพื้นที่แบบนี้สามารถควบคุมได้ง่ายกว่าพื้นที่สาธารณะที่เป็นพื้นที่เปิดตลอดเวลา   ทว่าจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา  พบว่าสถานที่กึ่งปิดเกือบทุกแห่งไม่มีมาตรการป้องกันการถูกล่อลวงจากขบวนการค้ามนุษย์ที่ดีพอ   กล่าวคือ  สถานที่ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีมิจฉาชีพแอบแฝงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีขนส่งหมอชิต และสถานีรถไฟหัวลำโพง ยังไม่ปรากฏสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในการสร้างความตระหนักรู้ต่อประชาชนที่เข้ามาใช้บริการอย่างเพียงพอ  บางสถานที่มีเพียงเสียงประชาสัมพันธ์ตามสาย และป้ายเตือนในการระวังมิจฉาชีพที่จะเข้ามาล่อลวงเอาทรัพย์สินเท่านั้น แต่เนื้อหาและรายละเอียดในการเตือนภัยมิได้ก้าวล่วงถึงเรื่องการค้ามนุษย์แต่อย่างใด 
ส่วนในสถานที่สาธารณะแบบเปิดนั้น  ไม่ปรากฏการประชาสัมพันธ์เตือนภัยใดๆ เลย  อาจปรากฏเพียงมาตรการป้องปรามอาชญากรรมในลักษณะของตำรวจสายตรวจออกตระเวรพื้นที่เท่านั้น
ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งถ้าทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแล  และรัฐควรมีมาตรการการป้องกันมากกว่านี้โดยอาจจะติดกล้องวรจรปิดหรือหาทางแก้ไขป้องกันให้ดีกว่านี้ค่ะ
เข้ามาแชร์ความคิดเห็นกันได้น๊ะคะเพื่อสังคมที่น่าอยู่ของเราค่ะ!!!

1 ความคิดเห็น:

  1. ควรติดตั้งกล้องวงจรปิดในพื้นที่คนชุก หรือสถนที่ต่างๆที่คนส่วนใหญ่ไป

    ตอบลบ